พ่อมึง ดราม่ากดคนด้วยอายุ ไปฟัง กบ ไมโคร – วัน อยู่บำรุง ฝากอะไรถึงคลื่นลูกใหม่

พ่อมึง ดราม่ากดคนด้วยอายุ ไปฟัง กบ ไมโคร – วัน อยู่บำรุง ฝากอะไรถึงคลื่นลูกใหม่

กบ ไมโคร วัน อยู่บำรุง โพสต์ถึงคลื่นลูกใหม่ หลังดราม่าเพลง พ่อมึง ไทเทเนียม โซเชียลวิจารณ์เดือดลดคุณค่าคนด้วยอายุ สังคมตีความ เหยียดเด็กรุ่นใหม่ หาเป็นของปลอม จากกรณีดราม่า “พ่อมึง” ซึ่งแฮชแท็กที่ใช้ชื่อเพลงใหม่ล่าสุดของวงไทเทเนียม พุ่งขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์มาต่อเนื่องขนาดที่ว่าผ่านมาแล้ว 1-2 วัน ยังไม่มีทีท่าจะแผ่ว 

โดยก่อนหน้านี้ “กบ ไมโคร” หรือ นายไกรภพ อดีตสมาชิกวงไมโครและมือกีต้าร์รุ่นเก๋า ได้โพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ผ่านพื้นที่สื่อโซเชียลของตัวเอง โดยระบุว่า

“วงการกีตาร์บ้านเรา เท่าที่อยู่มาไม่เคยเจอใครมากร่างใส่ใครนะ ยิ่งระดับโคตรเซียนอย่างพี่หมูคาไล ป๊อบเดอะซัน แจ๊คธรรมรัตน์ เทพระดับนี้ที่น้องๆรักเพราะรุ่นพี่ไม่เคยมาเก่งข่มใคร ทั้งๆที่วิสัยมือกระบี่คร่ำเคร่งฝึกหนักน่าจะอีโก้สูงแต่กลับไม่ ยิ่งคนไหนเก่งจริงจะยิ่งมีมือกีตาร์ด้วยกันขอให้โชว์อีกเยอะๆ ปล่อยของให้เป็นบุญตาที”

“น้องๆรุ่นใหม่นี่ก็โคตรเก่งนะครับ ฝึกมาครบทั้งเพอร์ฟอร์ม theory เห็นแล้วพี่ต้องยอมเลย แต่ผมก็ไม่เคยเห็นน้องมาเล่นข่มพี่แบบฆ่ามันๆ คนในวงการดนตรีจะรู้ว่า คลื่นลูกใหม่ย่อมเก่งอย่างไม่น่าเชื่อเสมอ แต่ก็นั่นแหละ ผมไม่เคยเห็นใครต้องมาบอกว่า”

“ผมรุ่นหลานนะน้า เจ๋งกว่าน้าเยอะ กูรุ่นพี่นะโว้ย มึงยังอีกหลายปีไอ้น้อง หรือแม้แต่ กูนี่รุ่นพ่อมึงนะไอ้ห่ะ ก็แปลกดีนะ เรื่องพวกนี้ผมไม่เคยเห็น”

ด้าน “วัน อยู่บำรุง” ที่ภายหลังได้ฟังเพลงดราม่าร้อนนี้ก็ออกมาระบุว่า ฟังเนื้อหาแล้วมีแต่ข่มเด็ก อวยตัวเอง ตนมองว่าพ่อควรเป็นแบบอย่างที่ดีกับลูก ให้กำลังใจลูกถึงจะถูก ก่อนจะติดแฮชแท็ก #คลื่นลูกใหม่ย่อมแรงกว่าลูกเก่า”

ทั้งนี้ Def Jam Thailand ต้นสังกัดของวงไทเทเนียม ได้ออกมาเคลื่นไหวล่าสุด วันนี้ (18 พ.ค.65) โดยทางค่ายยอมรับต่อกระแสดราม่าที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังได้อธิบายถึงเจตนารมณ์ของเพลง เพลงต้องการสื่อสารเนื้อหาที่ว่า ฮิปฮอปรุ่นใหญ่ได้กลับมาแล้ว ไม่ได้เป็นการด่า หรือจงใจอ้างอิงถึงใคร

ส่วนประเด็นที่คนรุ่นใหม่ฟังเพลงแล้ว รู้สึกว่าเป็นการเหยียดคนรุ่นใหม่นั้น ทางค่ายยอมรับว่าเป็นไปได้ที่จะตีความไปในทิศทางนั้น แต่ความตั้งใจที่จะสื่อสารคือการกล่าวเพื่อทวงบัลลังก์ว่า ไทยเทเนียม เป็นผู้นำเทรนด์ฮิปฮอปเข้ามาในประเทศไทย เพลงพ่อมึงเป็นการกลับมาปล่อยเพลงอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของวงไทยเทเนียมแต่กลับเป็นประเด็นร้อนแรงที่คนรุ่นใหม่มองว่าหมดยุคของการท้าทาย อวดเบ่ง หรือทำเพลงที่มีเนื้อหาในลักษณะนี้แล้ว

iLaw อธิบาย ป้ายหาเสียงรีไซเคิล ของ ชัชชาติ ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

iLaw เพจกฎหมายดังได้ออกมาโพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก หลังจากที่นาย ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยัง กกต. เพื่อขอให้ไต่สวนสอบสวน “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” กรณีทำป้ายหาเสียงเป็นผ้าไวนิลมีเจตนาแฝงเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อทำ “กระเป๋า-ผ้ากันเปื้อน”

อันเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 65 (1)

ซึ่งทางเพจได้ระบุไขข้อข้องใจว่า ตามบทบัญญัติ มาตรา 65 (1) ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ระบุว่า “มาตรา 65 ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไป ลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือ ผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด”

ถ้านำบทบัญญัติดังกล่าวมาเทียบเคียงกับกรณีการทำป้ายหาเสียงของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะพบว่า การทำป้ายดังกล่าวไม่มีเจตนาจัดทำป้ายเพื่อมาแจกจ่ายผู้ใดอันเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับตัวเอง และชัชชาติได้ชี้แจงในทวิตเตอร์ส่วนตัว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 ว่า ทีมงานออกแบบป้ายหาเสียงรีไซเคิลได้ เพราะไม่อยากให้กลายเป็นขยะหลังการเลือกตั้ง และจะไว้ใช้กันต่อกันเองในทีม

ดังนั้น ลำพังแค่การออกแบบป้ายหาเสียงให้สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ จึงไม่เพียงพอต่อการบอกว่าเป็นการจัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือ ผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเอง

ส่วนกรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า หลังจากปิดหีบเลือกตั้งแล้ว ก็จะมีชาวบ้านหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เขตต่างๆ จะออกมาเก็บป้ายหาเสียงของผู้สมัครไปเป็นของตนแทบทั้งสิ้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายตามองค์ประกอบความผิด เพราะไม่ได้จัดทำ หรือ จัดเตรียมป้ายหาเสียงเพื่อจะแจกจ่าย หรือมีการสัญญาว่าจะให้กับผู้ใดเพื่อจูงใจอย่างเฉพาะเจาะจง การที่มีคนเก็บป้ายไปเป็นของตน จึงไม่ได้เกิดจากตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้จัดทำหรือมอบให้กับประชาชน

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป