สหรัฐเตือนนักกีฬาแข่งโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง ใช้มือถือแบบใช้แล้วทิ้ง หวั่นโดนล้วงข้อมูล

สหรัฐเตือนนักกีฬาแข่งโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง ใช้มือถือแบบใช้แล้วทิ้ง หวั่นโดนล้วงข้อมูล

นักกีฬาสหรัฐที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ปักกิ่ง นั้น ได้รับคำเตือนว่าให้ใช้งานมือถือที่สามารถทิ้งได้ หรือใช้แล้วทิ้ง (burner phones) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ได้มีการรายงานถึงการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว ปี 2022 ณ เมือง ปักกิ่ง โดยเป็นการแจ้งเตือนจากคณะกรรมการโอลิมปิก และพาราลิมปิกของสหรัฐอเมริกา ถึงนักกีฬาสหรัฐที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ว่าให้มีการใช้งานมือถือ หรือสมาร์ทโฟนที่สามารถทิ้งได้ หรือใช้งานแล้วทิ้ง (burner phones)

จากการรายงานของ Wall Street Journal การแจ้งเตือนดังกล่าวนั้น 

มาจากความกังวลถึงการเฝ้าระวัง-ติดตาม-ลวงข้อมูล และการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ในขณะที่พัก และทำการแข่งขันในประเทศจีน โดยการแจ้งเตือนดังกล่าวนั้น ได้มีการประกาศไปแล้วถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งมีเนื้อความว่า “ทุกอุปกรณ์, การสื่อสาร, การแลกเปลี่ยน และกิจกรรมออนไลน์อาจจะถูกตรวจสอบ หรือเฝ้าดู” “อุปกรณ์ต่าง ๆ ของคุณนั้นอาจจะถูกติดตั้ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงด้วยซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อการใช้งานในอนาคตได้”

ซึ่งนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาแล้วนั้น WSJ ได้รายงานว่า ประเทศอื่น ๆ ที่มีการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน เช่น สหราชอาณาจักร, แคนาดา และเนเธอร์แลนด์ ก็ได้แจ้งเตือนให้นักกีฬาประจำชาติของตนว่า ห้ามนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวไปใช้งานในประเทศจีนด้วยเช่นกัน

ความกังวลของ คกก. โอลิมปิก และพาราลิมปิกของสหรัฐอเมริกานั้น ก็มาจากข่าวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ได้มีการรายงานถึงค้นพบ Spyware ที่ถูกติดตั้งโดยทางการจีนบนมือถือของนักท่องเที่ยวจากมณฑลซินเจียง (2019) ซึ่งก็ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการเฝ้าระวัง-ติดตามอย่างหนาแน่น

รวมไปถึงล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว (2020) กลุ่มวิจัยทางเทคโนโลยี – Citizen Lab ได้ค้นพบว่าแอปพลิเคชัน My2022 Olympic ที่ทางการจีนต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานแข่งขันทำการติดตั้งนั้น เต็มไปด้วยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ที่สามารถนำไปสู่การโจมตีความเป็นส่วนตัว, การแอบติดตาม-เฝ้าระวัง และการแฮ็คข้อมูลได้

ถึงกระนั้นความกังวลในการโจมตีทางไซเบอร์นั้น ก็ไม่ใช่ปัญหาเดียวเท่านั้น การใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีข้อจำกัดเป็นอย่างมากภายในประเทศจีน ก็ถือว่าเป็นปัญหาหลักอีกอย่างที่นักข่าวที่ทำการรายงานข่าว และนักกีฬาต่างชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเจอ ถึงแม้ว่าทางการจีนจะให้คำสัญญาว่าจะมีการเปิดการเข้าถึงให้แก่กลุ่มคนดังกล่าว แต่ก็มีการรายงานที่แย้งมาว่าจีนยังคงปิดกั้นการเข้าถึงบางส่วนอยู่ดี โดยเว็บไซต์ที่ได้รับผลนั้นก็ได้แก่ BBC China, เว็บไซต์ข่าวจากฮ่องกง รวมถึงเว็บไซต์ขององค์กรสิทธิมนุษยชน เป็นต้น หรือเรียกได้ว่าเว็บไซต์ที่ไม่ตรงกับความประสงค์ของทางการจีนก็ว่าได้

สำนักข่าว CGTN อัปเดตสถานการณ์หลัง ภูเขาไฟระเบิดตองกา

สำนักข่าว CGTN ได้ออกมา ภูเขาไฟระเบิดตองกา และเป็นเหตุให้สึนามิถล่ม ทางการเผยเถ้าถ่านภูเขาไฟสร้างความเสียหายกับพืชและปศุสัตว์

หลิว ซิน นักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ CGTN ได้ติดต่อไปยัง ฟาตาเฟฮี ฟาคาฟานัว โฆษกของสภานิติบัญญัติประเทศตองกา เพื่ออัปเดตสถานการณ์ล่าสุดหลังจากที่ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ประสบเหตุภูเขาไฟระเบิดและสึนามิถล่ม โดย CGTN เป็นสื่อรายแรก ๆ ในเอเชียที่ได้พูดคุยกับเขา และในการสัมภาษณ์สดครั้งนี้  หลิว ซิน ได้เจาะประเด็นเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสิ่งที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนในการบรรเทาวิกฤต

“คลื่นความรุนแรงกระแทกผ่านร่าง”

ฟาคาฟานัวกำลังเดินทางไปยังประเทศนิวซีแลนด์ตอนที่ภูเขาไฟฮุงกา ตองกา-ฮุงกา ฮาอาปาย เริ่มคุกรุ่น และเขาอยู่ที่นิวซีแลนด์ตอนที่ภูเขาไฟระเบิด เขาจึงสามารถติดต่อสื่อสารกับทั่วโลกได้ คริสตัล ภริยาของเขาซึ่งยังอยู่ในตองกา บอกเล่าว่าคลื่นความรุนแรงทำให้ทั้งตึกสั่นสะเทือนไปหมด มันเป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากแผ่นดินไหว เธอรู้สึกว่าคลื่นความรุนแรงกระแทกผ่านร่าง

ณ วันที่ 23 มกราคม มีการยืนยันผู้เสียชีวิต 3 รายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าความสูญเสียจะเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ ฟาคาฟานัว ก็ให้สัมภาษณ์ว่า ทางการตองการู้สึกโล่งใจที่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่สูงไปมากกว่านี้ นอกจากนี้ เขาได้บอกข่าวดีว่าโรงเรียนจะกลับมาเปิดได้เร็ว ๆ นี้ อาจจะในวันที่ 31 มกราคม

อย่างไรก็ตาม การสื่อสารในตองกายังคงห่างไกลจากภาวะปกติ โดยการโทรด้วยเสียงและการส่งข้อความสามารถทำได้แล้ว แต่การรับ-ส่งอีเมลใช้ได้เป็นพัก ๆ

ฟาคาฟานัวรู้สึกว่าความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงผลกระทบจากเถ้าถ่านภูเขาไฟและสึนามิอาจคงอยู่ต่อไปอีกนานหลายปี

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติก็แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยระบุในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 21 มกราคมว่า เถ้าถ่านภูเขาไฟอาจสร้างความเสียหายต่อพืชผลและเป็นอันตรายต่อปศุสัตว์ ทั้งนี้ ชาวตองการาว 86% ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือทำประมง

ฟาคาฟานัวกล่าวว่า ประชาคมโลกได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม “เรายังคงต้องการน้ำและอาหาร”

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป